วันศุกร์ที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2557

การเรียนการสอนรายหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้

การเรียนการสอนรายหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้
            หลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ถือเป็นวิทยาการที่สำคัญอย่างหนึ่งในวงการศึกษา หลักสูตรที่มีการใช้ในปัจจุบันนั้นล้วนแล้วแต่ได้รับการพัฒนาจากยุคหนึ่งมาสู่อีกยุคหนึ่งแล้วทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดการพัฒนาในทุกๆด้าน วัตถุประสงค์ เป้าหมาย  การจัดการเรียนการสอน  ตัวชี้วัด และการวัดและประเมินผลผล เป็นต้น  ซึ่งทุกอย่างที่เกิดจากการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้นั้นจะทำให้เกิดประสิทธิภาพ และประสิทธิผลทางการศึกษา กล่าวคือผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาของนักเรียนดีขึ้นจากการเรียนตามหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ ดังนั้นนักศึกษาที่เรียนสายการสอนจึงต้องได้รับการสอนวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ตามที่คณะกำหนดเพื่อเป็นพื้นฐานของการเป็นครูผู้สอนอย่างมืออาชีพในอนาคต
         จากการเรียนวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระภาษาอังกฤษ ที่มุ่งเน้นให้นักศึกษามีทักษะในการนำหลักสูตรสู่การจัดการเรียนการสอนในห้องเรียนได้อย่างมีคุณภาพ ตามสาระและมาตรฐานนั้น หมายความว่าในการเขียนแผนการเรียนการสอน ครูผู้สอนจะต้องศึกษาหลักสูตรอย่างชัดเจนเพื่อที่จะนำไปสู่แผนการสอน สาระและตัวชี้วัดในหลักสูตรจะช่วยให้ครูผู้สอน สอนได้ตรงตามวัตุประสงค์และหาเครื่องมือในการวัดและประเมินได้ตามตัวชี้วัดที่ต้องการสอนในแต่ละสาระ และมาตรฐาน
         ในหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๔๔๑ ได้ระบุสาระ และมาตรฐานสำหรับการเรียนการสอนวิชาภาษาอังกฤษไว้ทั้งสิ้น 4 สาระ 4Cs นั้นคือ 1. Language for Communication, 2. Language for Culture, 3.Language and Relationship with Other Content, 4. Language and Relationship with Community and the World  ซึ่งในแต่ละสาระจะมีมาตรฐานและตัวชี้วัดในแต่ระดับชั้นอย่างชัดเจน ซึ่งในหลักสูตรแกนกลางสำหรับการเรียนภาษาอังกฤษจะคลอบคลุมทุกทักษะ ฟัง พูด อ่าน เขียน เพื่อให้นักเรียนได้เกิดพัฒนาการตามตัวชี้วัดในระดับชั้นเรียนที่ระบุไว้อย่างชัดเจน ทำให้ครูผู้สอนสามารถออกแบแผนการเรียนรู้และการผนวกวิธีการสอนต่างๆได้อย่างมีประสิทธิภาพตามหลักสูตร
        วิธีการสอนภาษาอังกฤษได้มีการพัฒนา ประยุกต์ และบูรณการ แนวคิด(Approach) และทฤษฏี (Theory) ต่างๆ เพื่อให้เหมาะสมกับนักเรียนที่มีบริบทที่แตกต่างกันออกไป ทั้ง  ESL  (English as a Second Language) และ  EFL (English as a Foreign Language) ซึ่งแต่ละวิธีการก็จะมีลักษณะเด่น และจุดเน้นแตกต่างกันกัน เช่น The Grammar Translation Method , The Direct Method, The Audio Lingual Method, The Silent Way, Community Language Learning, Total Physical Response , Content – based  , Task – based
          ในการสอนภาษาอังกฤษในประเทศไทยในปัจจุบัน วิธีที่ได้รับความนิยมนำมาประยุกต์ใช้ในการเรียนการสอนภาษาอังกฤษคือ Task – based  ซึ่งจะพัฒนาความสามารถทางภาษาของนักเรียนผ่านภาระงาน และกิจกรรมในชั้นเรียน ปัจจุบันจะมุ่งเน้นให้นักเรียนสามารถสื่อสารในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งจะแตกต่างกับการสอนภาษาอังกฤษในอดีตที่ครูผู้สอนจะเน้นให้นักเรียนเรียนไวยากรณ์เพื่อเพียงแค่สอบผ่านมากกว่าการสนทนา ดังนั้นการนำกิจกรรมที่ที่เน้นทักษะการสื่อสารมาใช้ในชั้นถือเป็นสิ่งที่กระตุ้นให้นักเรียนเกิดการเรียนรู้ เช่น  การอภิปรายกลุ่ม   สถานการณ์สมมติ  Chain Drill  และ  Information Gap เป็นต้น  เมื่อครูผู้สอนมีความรู้เรื่องวิธีการสอนและการวิเคราะห์หลักสูตรแล้วก็จะทำให้ครูผู้สอนสามารถที่จะออกแบบการเรียนการสอนในชั้นเรียนได้อย่างมีประสิทธิภาพ
          การนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้จากการเรียนในรายวิชาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษไปใช้ในการจัดการเรียนการสอน  ข้าพเจ้าเห็นว่าสิ่งที่ได้เรียนรู้เป็นประโยชน์แก่ตนอย่างยิ่ง เพราะก่อนหน้านี้ไม่เคยทราบถึงกระบวนการออกแบบแผนการเรียนรู้มาก่อน ว่ามีกระบวนการอย่างไร ส่วนวิธีการสอนและแนวคิดที่ควรยึดเป็นหลักในการสอนภาษาอังกฤษจะเป็นแนวทางที่ดีในการสอนภาษาอังกฤษเพื่อให้สามารถจัดกิจกรรมการสอนที่มีประสิทธิภาได้ นอกจากนี้ความรู้เกี่ยวกับหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้นี้ก็จะเป็นพื้นฐานแก่ข้าพเจ้าในการศึกต่อในระดับที่สูงขึ้น   สุดท้ายนี้ข้าพเจ้าต้องขอขอบพระคุณ  อาจารย์อนิรุธ ชุมสวัสดิ์ เป็นอย่างยิ่งในการให้คำแนะนำด้านการเรียนเสมอมา






ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น